24.04.24

แพ็คเกจการทำอิ๊กซี่ (ICSI)

แพ็คเกจการทำอิ๊กซี่ (ICSI)

การทำอิ๊กซี่ (ICSI, Intracytoplasmic Sperm Injection) หรือการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยผู้ที่มีบุตรยากสามารถมีบุตรได้ โดยการทำ ICSI แพทย์จะเก็บไข่ทั้งหมดใน 1 รอบเดือนออกมาผสมกับอสุจิ โดยผสมไข่ 1 ใบ ต่ออสุจิ 1 ตัว โดยจะคัดเลือกตัวที่ดีที่สุดมาผสม ซึ่งจะใช้เข็มเจาะและฉีดอสุจิเข้าไปที่ไข่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิขึ้น จากนั้นจึงนำตัวอ่อนที่ได้ฉีดกลับไปสู่โพรงมดลูก และชักนำให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

โดยการทำ ICSI จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง อีกทั้งวิธีนี้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิมากกว่าการทำเด็กหลอดแก้ววิธีอื่น การทำ ICSI จึงมีค่าใช้จ่ายที่สูง เนื่องจากการทำ ICSI เป็นการคัดอสุจิที่สมบูรณ์แล้วมาปฏิสนธิได้เลย การทำแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากวิธีนี้จึงเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

ในการทำ ICSI เหมาะกับใครบ้าง เรามาดูลิสต์ด้านล่างนี้กันได้เลย

  • คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยาก (Infertility)
  • คู่สมรสที่เคยใช้วิธีการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI)
  • คู่สมรสที่พยายามมีบุตรมากกว่า 1 ปี แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์
  • ฝ่ายหญิงที่ตรวจพบว่ามีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ (Endometriosis)
  • ฝ่ายหญิงที่ตรวจพบว่ามีท่อนำไข่ตีบตันหรือถูกทำลาย (Block Fallopian Tube)
  • ฝ่ายหญิงที่ตรวจพบว่ามีภาวะตกไข่ผิดปกติ (Ovulation Disorder) และมีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Primary Ovarian Insufficiency)
  • ฝ่ายหญิงที่ตรวจพบว่ามีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome, PCOS)
  • ฝ่ายชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับเชื้ออสุจิ
  • ฝ่ายชายที่ผ่านการทำหมัน (Vasectomy)
ใครเหมาะกับการทำ ICSI

ค่าใช้จ่ายโปรแกรมทำ ICSI

สำหรับค่าใช้จ่ายในการทำ ICSI อยู่ที่ประมาณ 231,000 -269,000 บาท แพ็กเกจแต่ละแบบขึ้นอยู่กับความพร้อมและสภาพร่างกายของทั้งคู่ ซึ่งการทำ ICSI ราคานี้รวมทั้งค่าหัตถการการเก็บไข่, ค่าเลเซอร์เจาะเปลือกไข่, ค่าเลี้ยงตัวอ่อน และค่าใช้จ่ายในการทำ ICSI อื่น ๆ แล้ว

แพ็คเกจ ราคาโปรโมชั่น (บาท)
การทำอิ๊กซี่ (ICSI) 125,000 - 269,000

คำถามที่พบบ่อย

คำถาม : ทำไมการทำ ICSI ถึงมีราคาสูง แบ่งจ่ายได้ไหม?

คำตอบ : ICSI ราคาสูงกว่าการทำเด็กหลอดแก้วรูปแบบอื่น เพราะมีวิธีการเตรียมการหลายขั้นตอนและต้องอาศัยความแม่นยำของแพทย์ในฉีดอสุจิ และใช้ผู้เชี่ยวชาญในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ดังนั้นการทำ ICSI จึงมีราคาสูงกว่าการรักษาวิธีอื่นๆ

สำหรับการแบ่งจ่ายอาจจะขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษา เนื่องจากสถานพยาบาลแต่ละแห่งมีการเก็บค่าบริการในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ควรสอบถามเรื่องค่าบริการเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจเข้ารับบริการสำหรับที่ SAFE Fertility Group เรารับชำระแบบจ่ายทั้งก้อน โดยสามารถชำระเงินออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชันของแต่ละธนาคาร และยังรับชำระแบบผ่อนจ่ายผ่านบัตรเครดิต0% นาน 3 เดือน ธนาคารที่เข้าร่วม SCB , K-Bank , BBL

คำถาม : การทำ ICSI มีความเสี่ยงในการแท้งหรือไม่?

คำตอบ : การทำ ICSI มีความเสี่ยงต่อการแท้งอยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากการแท้งนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากวิธีการตั้งครรภ์ แต่การแท้งมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น สุขภาพร่างกายของฝ่ายหญิง หรือพฤติกรรมในการใช้ชีวิตขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นการแท้งสามารถเกิดขึ้นได้กับการตั้งครรภ์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการทำเด็กหลอดแก้ว หรือการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติก็สามารถเกิดการแท้งได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละบุคคลนอกจากสาเหตุการแท้งอื่นๆ คือความผิดปกติของโคโมโซมทารกในครรภ์ดังนั้นหากทำ ICSI ร่วมกับตรวจคัดกรองโคโมโซมตัวอ่อนก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกด้วย จะช่วยลดความเสี่ยงในการแท้งบุตรได้

คำถาม : การทำ ICSI มีโอกาสได้ลูกแฝดหรือไม่?

คำตอบ : การทำ ICSI มีโอกาสในการได้ลูกแฝด ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอ่อนที่ถูกฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก เพราะในการทำ ICSI แพทย์มักจะใส่ตัวอ่อนเข้าไปมากกว่า 1 ตัว เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ หากตัวอ่อนมีความสมบูรณ์แข็งแรงมากกว่า 1 ตัว ก็จะมีโอกาสเกิดลูกแฝดได้

คำถาม : การทำ ICSI สามารถเลือกเพศลูกได้ไหม?

คำตอบ : ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่สามารถเลือกเพศลูกได้ เนื่องจากยังผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2541 แม้ว่าในทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถตรวจหาโครโมโซมเพศของโครโมโซมก่อนฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกได้ก็ตาม ดังนั้นในทางข้อกฎหมาย การทำ ICSI หรือการทำเด็กหลอดแก้วอื่น ๆ ไม่สามารถเลือกเพศลูกได้

คำถาม : การทำ ICSI มีโอกาสสำเร็จมากเท่าไหร่?

คำตอบ : การทำ ICSI เป็นวิธีการทำเด็กหลอดแก้วที่ได้ผลดีมากที่สุด เมื่อเทียบกับวิธีการแก้ปัญหามีบุตรยากแบบอื่น โอกาสสำเร็จจากการฉีดตัวอ่อนแบบไม่ตรวจโครโมโซมอยู่ที่ประมาณ 40-50% แต่หากตรวจโครโมโซมจะอยู่ที่ประมาณ 75 % ทั้งนี้โอกาสสำเร็จขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น คุณภาพของไข่ คุณภาพของอสุจิ และสุขภาพโดยรวมของคู่สมรส