21.10.65

เคล็ดไม่ลับ การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร และตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

เคล็ดไม่ลับ การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร และตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

การสร้างครอบครัว กลายเป็นเป้าหมายหนึ่งของใครหลายคน โดยเฉพาะในวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และพร้อมที่จะลงหลักปักฐาน การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสุขภาพที่ดี และร่างกายที่พร้อม ก็จะส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมาที่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ และ ตรวจความพร้อมมีบุตร จึงมีความจำเป็นเพื่อให้แผนการสร้างครอบครัวเป็นไปตามต้องการ

วันนี้ทาง SAFE Fertility Center จึงขอมาแชร์เกี่ยวกับเทคนิคการเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร และการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์กันแบบเจาะลึก หรือหากใครต้องการเข้ามาพบและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ SAFE ก็สามารถติดต่อเราได้เลย

ก่อน ตรวจความพร้อมมีบุตรก่อนมีบุตร ควรเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง

ก่อนที่จะวางแผนสำหรับการตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากร่างกายไม่พร้อมก็จะส่งผลในเรื่องของการมีบุตรได้ยาก หรือเมื่อตั้งครรภ์ไปแล้วก็อาจส่งผลต่อการเกิดการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติได้ ซึ่งการตรวจเพื่อเตรียมความพร้อมนี้ก็สามารถทำได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เพราะโรคหรือภาวะอาการบางอย่างที่แฝงอยู่ในพันธุกรรมนั้น บางโรคสามารถเกิดขึ้นได้ในเพศชาย และบางโรคก็สามารถเกิดขึ้นได้ในเพศหญิง การเข้ารับการปรึกษาหรือตรวจสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงจะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

เตรียมความพร้อมด้วยการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เริ่มต้นด้วยการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมกับการตรวจสุขภาพต่างๆ ร่วมด้วย โดยการเข้าพบแพทย์นั้น ควรทำก่อนการวางแผนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อประเมินความเสี่ยงของทั้งพ่อและแม่ ว่ามีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาด้านสุขภาพใดบ้าง มีความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์มากน้อยเพียงใด ในส่วนของการตรวจสุขภาพนั้น หลักๆ แล้ว ควรตรวจสุขภาพดังต่อไปนี้

  • การตรวจสุขภาพ (Medical Examination) ได้แก่ ตรวจวัดความดันโลหิต ซักประวัติ และตรวจร่างการโดยแพทย์ เพื่อเป็นการตรวจความสมบูรณ์ของร่างกายทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง รวมไปถึงเพื่อตรวจเช็คว่ามีโรคที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่
  • การตรวจเลือด (Blood test) ได้แก่ ตรวจกรุ๊ปเลือด (ABO and Rh Grouping), ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) โดยการตรวจกรุ๊ปเลือดเพื่อหาความเข้ากันได้ของเลือกนั้น ก็เพื่อที่จะให้ทราบหมู่เลือดของทั้งว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ รวมไปถึงหมู่เลย Rh+ หรือ Rh- ซึ่งหากเป็นหมู่เลือดที่เป็น Rh- นั้น ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสแท้งบุตรสูง ในการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 อีกทั้งยังส่งผลให้ทารกเติบโตได้ช้ากว่าปกติด้วย ในส่วนของการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือ Complete Blood Count ก็จะเป็นการตรวจเพื่อหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อดูว่าเลือดมีความผิดปกติใดๆ หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงต่อโลหิตจาง หรือความเสี่ยงต่อมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ รวมไปถึงพัฒนาการของเด็กในครรภ์ได้
  • การตรวจติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคทางพันธุกรรม, ธาลัสซีเมีย (Hemoglobin typing), หัดเยอรมัน (Rubella IgG), AMH (ภาวะไข่สำรองในรังไข่) เป็นการตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ผ่านการส่งต่อทางพันธุกรรม เพื่อหาความเสี่ยงที่ภาวะหรือโรคจะส่งต่อไปยังบุตรในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการหาแนวทางป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วย
  • การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจเช็คมดลูก รังไข่ อุ้งเชิงกรานในฝ่ายหญิง โดยจะเป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของ มดลูก รังไข่ รวมไปถึงกระเพาะปัสสาวะ และไส้ติ่ง ที่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนตอนตั้งครรภ์ หรือเพื่อตรวจเช็คมให้แน่ใจว่าฝ่ายหญิงมีความพร้อมในการตั้งครรภ์มากน้อยเพียงใด
  • การตรวจคุณภาพอสุจิในฝ่ายชาย (Semen Analysis) เป็นการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิของฝ่ายชาย เพื่อหาภาวการณ์มีบุตรยากซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากคุณภาพของน้ำอสุจิ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติที่อาจเกิดจากท่อนำอสุจิตีบหรือตัน อัณฑะไม่ผลิตอสุจิ หรือมีการผลิตที่น้อยกว่าปกติ, อสุจิมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ดี ส่งผลให้ไม่สามารถว่ายผ่านปากมดลูกไปยังท่อนำไข่ได้ หรือรุปร่างของอสุจิที่อาจส่งผลเสียกับการปฏิสนธิได้นั่นเอง
การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต

การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร ไม่ได้มีเพียงแค่การเตรียมพร้อมในเรื่องของการตรวจสุขภาพและการเข้ารับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในเรื่องของร่างกายและจิตใจ ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เพื่อให้พร้อมสำหรับการมีบุตรในอนาคตด้วย

หลายๆ คนคงทราบกันดีอยู่แล้วในเรื่องของการสร้างสุขภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นด้านการกิน การพักผ่อน การออกกำลังกาย หรือการจัดการกับอารมณ์และความเครียด แต่เราก็อยากจะมาย้ำในเรื่องของการเตรียมความพร้อมในด้านร่างกายและจิตใจกันอีกครั้ง

  • การรับประทานอาหารที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มโปรตีนจำนวนเนื้อสัตว์ ไข่ ปลา, ลดคาร์โบไฮเดรตที่จะทำให้เกิดการสะสมเป็นไขมันในอนาคต โดยเน้นไปที่การบริโภคคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbohydrates) เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต เป็นต้น, เพิ่มการทานกรดไขมันที่ดี ไม่ว่าจะเป็น โอเมกา 3, โอเมกา 6 รวมไปถึงการเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) รวมไปถึงวิตามินต่างๆ ได้แก่ Folic Acid, Co-Q10, Fish oil และ วิตามินรวม นอกจากนี้ในบางรายที่กำลังรับประทานยาบางชนิดอยู่ ซึ่งอาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ ก็ควรงดใช้ยาอย่างน้อย 2-3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญควบคู่ไปด้วย
  • พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนที่เหมาะสมและเพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงเวลา 22:00 – 02:00 น. จะเป็นช่วงที่ร่างกายผลิต Growth Hormone ซึ่งมีผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก รวมไปถึงการเสริมสร้างเซลล์ การทำงานของระบบสมองและเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือเล่นโยคะ ก็จะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น แต่ในฝ่ายชายนั้นการปั่นจักรยานอาจไม่ใช่ทางเลือกการออกกำลังกายที่ดีนัก เนื่องจากอาจส่งผลกับสุขภาพของอสุจิได้
  • การเตรียมพร้อมทางด้านจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหญิงที่ต้องเตรียมตัวเพื่อรับการภาวะที่ฮอร์โมนมีความผิดปกติในขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมามากมาย รวมไปถึงอารมณ์ที่ไม่ค่อยคงที่ และฝ่ายชายที่ต้องเตรียมความพร้อมในการที่จะต้องรับมือกับอารมณ์ของอีกฝ่าย รวมไปถึงการดูแลฝ่ายหญิงในขณะที่ตั้งครรภ์ด้วย
หากเกิดภาวะมีบุตรยาก ทำอย่างไร

ภาวะของการมีบุตรยากอาจเกิดขึ้นมาได้จากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป โดยหลักๆ อาจเกิดมาจากปัจจัยในด้านของ ปัญหาการตกไข่ (Ovulation Factor), ปัญหาเกี่ยวกับท่อนำไข่ (Tubal Factor), ปัญหาที่มดลูกและปากมดลูก (Uterine/Cervical Factor), ปัญหาจากเยื่อบุภายในช่องท้อง (Peritoneal Factor) และ ปัญหาอสุจิ (Male Factor) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในปัจจุบันก็มีทางเลือกสำหรับวิธีการแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก นั่นก็คือ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และเข้าตรวจและรับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะเป็นการเสริสร้างประสิทธิภาพที่ดีและสมบูรณ์ในการตั้งครรภ์ ทำให้การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรเป็นไปได้ด้วยดีมากยิ่งขึ้น ผู้ที่กำลังวางแผนสร้างครอบครัวและมีบุตร จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างเสริมร่างกายและจิตใจให้พร้อมต่อการเพิ่มสมาชิกภายในครอบครัวต่อไป