24.04.24

ฝากไข่ (Egg Freezing) ทางเลือกสำหรับคนวางแผนอยากมีลูกในอนาคต

ฝากไข่ (Egg Freezing) ทางเลือกสำหรับคนวางแผนอยากมีลูกในอนาคต

“การฝากไข่” เป็นหนึ่งในวิธีที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก และผู้ที่กำลังวางแผนการมีบุตรในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันคนสังคมไทยมีอัตราการแต่งงานที่ช้าลง ส่งผลให้อัตราการมีลูกเกิดขึ้นช้าลงเช่นกัน เหตุนี้การฝากไข่จึงเป็นวิธีช่วยคุณผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้น ให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของลูกที่เกิดมาอีกด้วย

นอกจากนี้การฝากไข่ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์แบบเด็กหลอดแก้ว และผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายอื่น ๆ ที่ส่งอาจจะส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ในบทความนี้ SAFE Fertility Group จะพาทุกคนมารู้จักการฝากไข่ให้มากขึ้น พร้อมทั้งขั้นตอนการฝากไข่ และสาระน่ารู้อีกมากมายที่ไม่ควรพลาด

ฝากไข่คืออะไร

Egg freezing หรือ การฝากไข่ เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยรักษาคุณภาพเซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ของคุณผู้หญิงเอาไว้ใช้สำหรับการวางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคต โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการดูดเอาเซลล์ไข่ที่แข็งแรงสมบูรณ์ของคุณผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ออกมาจากรังไข่ และนำไปแช่แข็งเซลล์ไข่ (Oocyte Cryopreservation) ในอุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาคุณภาพเซลล์ไข่ของคุณผู้หญิงให้พร้อมต่อการนำไปใช้ต่อในอนาคต

โดยการทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF และ ICSI ก็สามารถใช้เซลล์ไข่ที่ถูกแช่แข็งเก็บไว้ มาปฏิสนธิกับอสุจิของคุณผู้ชาย เพื่อใช้ในกระบวนการตั้งครรภ์ต่อไปได้อีกด้วย แต่การแช่แข็งเซลล์ไข่นั่นมีความแตกต่างกับการแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Cryopreservation) เนื่องจากการแช่แข็งตัวอ่อนจะนำเซลล์ไข่กับอสุจิมาปฏิสนธิกัน ก่อนนำไปแช่แข็ง การแช่แข็งตัวอ่อนจึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่มั่นใจในคู่สมรสของตัวเองแล้วมากกว่าการแช่แข็งเซลล์ไข่

หากใครมีภาวะมีบุตรยากและสนใจบริการรับฝากไข่ สามารถเข้าไปดูเรื่องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ที่ : Landing page - ฝากไข่ราคา

ทำไมคนวางแผนมีลูกถึงต้องฝากไข่ ?

การฝากไข่เป็นหนึ่งในวิธีสำหรับผู้ที่วางแผนมีลูกควรศึกษาและทำความเข้าใจให้มากขึ้น เพราะไม่ว่าเราวางแผนจะมีลูกในเร็ว ๆ นี้ หรือในอนาคตก็ตาม สุขภาพร่างกายของลูกน้อยย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ การฝากไข่จึงเป็นวิธีที่จะช่วยแก้ไขปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นคุณผู้หญิงและลูกน้อยในอนาคตได้ ดังนี้

โรคประจำตัวที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์

หากคุณผู้หญิงมีโรคประจำตัวและได้ผ่านกระบวนการรักษาโรคด้วยวิธีต่าง ๆ อาจจะทำให้ส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงได้ เช่น โรคมะเร็งรังไข่หรือซีสที่รังไข่ อาจจะทำให้เกิดภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร อีกทั้งการฉายแสงหรือการทำเคมีบำบัดในขั้นตอนการรักษาโรคมะเร็งก็สามารถเป็นอันตรายต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงได้เช่นกัน การฝากไข่ก่อนการรักษาโรคประจำตัวจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้คุณผู้หญิงสามารถมีลูกได้ในอนาคตด้วยเซลล์ไข่ที่แข็งแรงสมบูรณ์

ความต้องการฝากไข่ที่มีคุณภาพที่ดีเพื่อวางแผนมีบุตรในอนาคต

การฝากไข่ ยิ่งฝากไข่เร็ว ยิ่งดี หากคุณผู้หญิงมีการวางแผนมีบุตรในอนาคต ควรเตรียมพร้อมและเริ่มต้นเข้ารับการฝากไข่ให้เร็วที่สุด ในช่วงอายุที่พร้อมต่อภาวะเจริญพันธุ์ ไม่ควรเกิน 35 ปีจะถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพราะสุขภาพร่างกายของคุณผู้หญิงในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะยังมีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก หากปล่อยให้เวลาเกินไปกว่านี้อาจจะเข้าสู่ภาวะมีบุตรยาก การฝากไข่ไว้ก่อนจึงเป็นการวางแผนที่ดีเพื่อให้ได้มีเซลล์ไข่ไว้ใช้ตั้งครรภ์ในวันที่พร้อม

ความต้องการมีลูกด้วยการทำเด็กหลอดแก้วในอนาคต

การแช่แข็งไข่ หรือ การฝากไข่ไว้ก่อนเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับบางคนที่อาจจะมีโรคทางพันธุกรรมที่อาจจะส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ในอนาคต การวางแผนมีบุตรด้วยการฝากไข่นั้นสามารถนำเซลล์ไข่ไปใช้ในการตั้งครรภ์ได้หลากหลายวิธี โดยเฉพาะผู้ที่อยากมีลูกด้วยการทำเด็กหลอดแก้วก็สามารถใช้การฝากไข่ไปทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) ต่อได้ในอนาคต

การเตรียมตัวก่อนเริ่มฝากไข่

ก่อนเริ่มกระบวนการฝากไข่ คุณผู้หญิงควรเตรียมร่างกายของตัวเองให้พร้อมตามเช็กลิสต์ต่าง ๆ ดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ไข่ขาว เต้าหู้ ปลา เพราะอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มการเติบโตของเซลล์ไข่เพศหญิงได้เป็นอย่างดี
  • เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
  • เสริมด้วยวิตามินและอาหารเสริมได้บางชนิดตามคำแนะนำของแพทย์
  • งดออกกำลังกายหนัก หรือทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ที่กำลังเติบโตในรังไข่ได้
  • ควบคุมความเครียดและผ่อนคลายร่างกาย ให้ทั้งร่างกายและจิตใจพร้อมสำหรับการฝากไข่

5 ขั้นตอนการฝากไข่

ก่อนเริ่มกระบวนการฝากไข่ คุณผู้หญิงควรเตรียมร่างกายของตัวเองให้พร้อมตามเช็กลิสต์ต่าง ๆ ดังนี้

1. พบแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนการรักษา (Preparation)

ขั้นตอนแรกในการเข้ารับการฝากไข่ คือ การวางแผนการรักษา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเริ่มต้นการรักษา ประกอบกับการทำอัลตราซาวด์เพื่อดูสภาพรังไข่ผู้หญิง และจำนวนไข่ตั้งต้น เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาทางการเจริญเติบโตหรือการมีภาวะมีบุตรยาก โดยทีมแพทย์และพยาบาลจะมีการซักประวัติเบื้องต้น ดังนี้

  • การวัดน้ำหนัก/ส่วนสูง
  • การวัดความดันโลหิต
  • ประวัติโรคประจำตัว
  • ประวัติการตั้งครรภ์
  • ประวัติรอบประจำเดือนของผู้หญิง

2. กระบวนการกระตุ้นไข่ (Ovarian Stimulation)

ขั้นตอนที่สองของการฝากไข่เป็นกระบวนการกระตุ้นไข่โดยใช้ยา โดยหลังจากที่ได้ผลการตรวจสภาพรังไข่ผู้หญิงและฮอร์โมนแล้ว ทีมแพทย์จะมีการคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากนั้นจะมีการวินิจฉัยว่าคุณผู้หญิงควรได้ยากระตุ้นไข่ในปริมาณเท่าไหร่และต้องได้รับยาระยะยาวต่อเนื่องแค่ไหนถึงเหมาะสม โดยคุณผู้หญิงสามารถฉีดยากระตุ้นได้ด้วยตนเอง หรือสามารถสอบถามขั้นตอนกับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลส่วนตัวได้ตลอดเวลาเมื่อเกิดข้อสงสัย

3. ติดตามผลการกระตุ้นไข่เป็นระยะ (Ovulation Induction : OI)

ขั้นตอนต่อมาของการฝากไข่เป็นการติดตามผลการกระตุ้นไข่เป็นระยะ เพื่อดูการตอบสนองของรังไข่ผู้หญิง โดยระหว่างนี้แพทย์จะมีการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับคุณผู้หญิง ซึ่งแพทย์จะมีการเพิ่มและลดยาให้เหมาะสมกับการตอบสนองของแต่ละบุคคลว่ามีการเจริญเติบโตของไข่ต่อยากระตุ้นไข่มากน้อยแค่ไหน หากมีขนาดสมบูรณ์ตามที่แพทย์ต้องการแล้ว จึงจะฉีดยาเพื่อให้เกิดไข่ตกต่อไป

4. การเก็บไข่ (Egg Retrieval)

หลังจากฉีดยาเพื่อให้ไข่ตกเสร็จแล้วประมาณ 36-37 ชั่วโมง แพทย์จะทำการเก็บไข่โดยการใช้การอัลตราซาวนด์เพื่อหาตำแหน่งไข่ให้ชัดเจน จากนั้นแพทย์จะนำเข็มสำหรับเก็บไข่ดูดเซลล์ไข่เพศหญิงออกมา ขั้นตอนนี้จะให้ยาสลบคุณผู้หญิงเนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานาน และเป็นหัตถการขนาดเล็กที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการรักษา

5. แช่แข็งไข่ (Embryo Freezing)

ขั้นตอนสุดท้ายของการฝากไข่ เมื่อนำเซลล์ไข่ของคุณผู้หญิงออกมาแล้วจะถูกนำมาบรรจุไว้ในหลอดแก้วที่ควบคุมโดยนักวิทยาศาสตร์ ที่จะจัดเก็บเซลล์ไข่เพศหญิงมาแช่แข็งไข่ในไนโตรเจนเหลวที่มีอุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส เซลล์ไข่ที่ถูกเก็บไว้จึงจะหยุดการเปลี่ยนแปลง เมื่อผู้ฝากไข่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ ก็สามารถนำไข่ที่ถูกแช่แข็งไว้ออกมา เพื่อใช้ปฏิสนธิกับอสุจิของฝ่ายชายได้ตามที่ต้องการ

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการเก็บไข่่

หลังจากการเก็บไข่เสร็จ คุณผู้หญิงอาจจะมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้แล้วแต่บุคคล จะมีอาการอะไรบ้าง มาดูกันด้านล่างนี้ได้เลย

  • อาการแทรกซ้อนจากการเก็บไข่
    เกิดขึ้นจากการทำหัตถการโดยใช้เข็มดูดเซลล์ไข่ออกจากรังไข่ อาจจะทำให้เกิดอาการเลือดออก หรือการติดเชื้อในช่องท้องได้ ซึ่งอาจกระทบต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียง เช่น ลำไส้, กระเพาะปัสสาวะ และเส้นเลือด
  • อาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาหรือฮอร์โมน
    เกิดขึ้นจากการใช้ยาฮอร์โมนในการกระตุ้นไข่ สามารถทำให้รังไข่บวมหรือภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป โดยอาจจะมีอาการต่างๆดังนี้ เช่น ปวดท้อง, ท้องอืด, อาเจียน, ท้องร่วง และหายใจลำบาก
  • ภาวะทางด้านอารมณ์
    เกิดขึ้นจากที่คุณผู้หญิงที่มีความเครียดสะสมจากการวางแผนการตั้งครรภ์ รวมถึงความวิตกกังวลในการฝากไข่เพื่อตั้งครรภ์ หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเก็บไข่แล้วก็อาจทำให้เกิดความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ได้เช่นกัน

โอกาสตั้งครรภ์ด้วยไข่ที่ฝากไว้มีมากน้อยแค่ไหน?

การฝากไข่ (Egg freezing) เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนของการวางแผนตั้งครรภ์ในอนาคตที่คุณผู้หญิงยุคใหม่ให้ความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะยิ่งเรามีการฝากไข่ที่อายุน้อยเท่าไหร่ อัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์ก็จะยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้นเท่านั้น โดยคุณผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี จะมีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จมากถึงร้อยละ 40-50 และคุณผู้หญิงที่มีอายุ 35-37 ปี โอกาสตั้งครรภ์สำเร็จจะอยู่ที่ 30-40%

สำหรับคุณผู้หญิงที่ไม่พร้อมตั้งครรภ์ในปัจจุบัน และต้องการฝากไข่ไว้กับคนที่สามารถดูแลได้ SAFE Fertility Group ขอเชิญชวนคุณผู้หญิงที่สนใจวางแผนตั้งครรภ์ในอนาคต ได้เข้ามาปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์มากกว่า 15 ปี เราใส่ใจทุกรายละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนแรกตลอดจนระยะเวลาของการเก็บรักษาไข่ มั่นใจให้เรา SAFE Fertility Group ดูแลคุณ